วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

กล้วยน้ำว้า


2. กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยที่ปลูกกันทั่วไปในประเทศไทย เนื้อกล้วยมีคุณค่าทางอาหารมาก ใช้เป็นอาหารเด็กอ่อน กินสดและทำเป็นขนมหลายชนิด
ลักษณะทั่วไป ลำต้นสูงระหว่าง 1.75-4.5 เมตร แล้วแต่พันธุ์ เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอ่อน มีประดำเล็กน้อย ด้านในสีเขียวอ่อน ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบสีเขียว ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างป้อม ม้วนงอขึ้น ปลายป้าน ด้านบนสีแดงอมม่วงมีนวล ด้านล่างสีแดงเข้ม เครือหนึ่งมี 7-15 หวี แล้วแต่พันธุ์ หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ความยาวใกล้เคียงกับกล้วยไข่ เปลือกหนากว่ากล้วยไข่ เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อสีขาว รสหวาน กล้วยน้ำว้ามีสายพันธุ์ย่อยแตกต่างไปดังนี้
2.1 กล้วยมะลิอ่อง

ลำต้นสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวปนแดง มีประดำค่อนข้างมาก ก้านใบสีเขียวสด ท้องใบมีนวลมาก เครือหนึ่งมี 5-7 หวี ลักษณะผลภายนอกเหมือนกล้วยน้ำว้ากาบขาว ผลสุกมีสีเหลืองปนน้ำตาล เปลือกบาง บางครั้งมีกระที่ผิว เนื้อในมีสีขาวเหลือง รสหวานจัดกว่าทุกพันธุ์ เป็นกล้วยที่นิยมปลูกในสวนแถบบางกอกน้อย และสวนทุเรียนที่จังหวัดนนทบุรี มีชื่อพ้องว่า กล้วยน้ำว้าสวน ทองมาเอง
2.2 กล้วยน้ำว้าค่อม
ลักษณะ ลำต้นอวบอ้วน เตี้ยกว่ากล้วยน้ำว้าทั่วไป จะมีเครือ ขนาดใหญ่ ผลเยอะ ประมาณ 9-11 หวี หวีละประมาณ 15 ลูกขึ้นไป รสชาติ จะดีเฉพาะเครือแรก ถ้าเป็นกล้วยตอ ขนาดเครือและผลจะเล็กลง รสชาติจะด้อยลงมาและกล้วยชนิดนี้มักจะมีโรครากเน่า อยู่เสมอ เมื่อตัดเครือแรกแล้ว ควรแยกหน่อและย้ายหลุมปลูก อยากให้ซ้ำที่เดิม
2.3 กล้วยน้ำว้าดำ

ลักษณะลำต้นสูงใหญ่ เมื่อปลีกล้วยออกมาจะเห็นสีของปลีกล้วยผิดปกติกว่ากล้วยน้ำว้าธรรมดาทั่วไป บริเวณโคนก้านใบจะมีปื้นสีดำ และที่ผลอ่อนจะมองดูคล้ายมีเงาสีดำเคลือบอยู่ สีจะเปลี่ยนเป็นสีเปลือกมังคุดใกล้ดำ เมื่อผลแก่เต็มที่ตามภาพ
 

2.4 กล้วยน้ำว้าด่าง
เป็นกล้วยที่กลายพันธุ์มาจากกล้วยน้ำว้าค่อม แต่ลำต้นเล็กกว่า ลักษณะใบจะออกด่างขาวเป็นปื้น ทุกใบ เมื่อใบแก่ จะออกสีเขียวมากขึ้น สีขาวจะเลือนไปบ้างเล็กน้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น